Monday, May 27, 2013

ลักษณะของรถ ตามพรบ.รถ


          จากครั้งที่แล้วที่ผมลงมาให้เพื่อนๆดูค่าใช้จ่ายของพรบ. คราวนี้บางท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วเขาแบ่งรถออกเป็นประเภทๆได้อย่างไรนะ ครั้งนี้ผมเลยเอาภาพมาให้พวกเพื่อนๆได้ดู เพื่อช่วยคลายความสงสัยกันไม่มากก็คงไม่น้อยครับ

1.  รย.1  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน





































2.  รย.2  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน


3.  รย.3  รถบรรทุกส่วนบุคคล









































4.  รย.4  รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล



5.  รย.5  รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด



6.  รย.6  รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน




















7.  รย.7  รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง











8.  รย.8  รถยนต์รับจ้างสามล้อ









9.  รย.9  รถยนต์บริการธุรกิจ



10. รย.10  รถยนต์บริการทัศนาจร




11. รย.11  รถยนต์บริการให้เช่า



















12. รย.12  รถจักรยานยนต์











13. รย.13  รถแทรกเตอร์











14. รย.14  รถบดถนน


15. รย.15  รถใช้งานเกษตรกรรม



16. รย.16  รถพ่วง










17. รย.17  รถจักรยานยนต์สาธารณะ

ความรู้เกี่ยวกับค่าใ้ช้จ่ายเกี่ยวกับพรบ.หรือประกันภัยภาคบังคับ



วันนี้ไปเจอข้อมูลมา เลยอยากแชร์ให้เพื่อนๆครับ ว่าบริษัทประกันภัยเขาใช้รหัสประกันภัยภาคบังคับ(พรบ.) ในรถแต่ละรุ่นอย่างไร และราคาเท่าไหร่ โดยหลักๆมีดังนี้ครับ

- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) คือ รถที่ป้ายทะเบียนพื้นหลังสีขาว ตัวอักษรและตัวเลข สีดำ ได้แก่
รถเก๋งทั่วไป (ใช่ส่วนบุคคล)เช่น รถกระบะ 4 ประตู ไม่มีหลังคา หรือ แครี่บอยข้างหลัง (ใช้ส่วนบุคคล)
ราคา รวมภาษีและอากร 645.21 บาท รหัสในการประกันภัยคือ 1.10

- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน คือ รถที่มีป้ายทะเบียนพื้นหลังสีขาว ตัวอักษรและตัวเลข สีเขียว ได้แก่
รถกระบะ 2 ประตู มีหรือไม่มี แค็ป ไม่มีหลังคา หรือ แครี่บอยข้างหลัง น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน (ใช้ส่วนบุคคลหรือใช้เพื่อการพาณิชย์) 
ราคา รวมภาษีและอากร 967.28 บาท รหัสในการประกันภัยคือ 1.40(A)

- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รย.2) คือ 
รถที่มีป้ายทะเบียนพื้นหลังสีขาว ตัวอักษรและตัวเลข สีฟ้า ได้แก่ 
รถตู้ (ส่วนบุคคล) ไม่ใช้รับจ้าง 
ราคา รวมภาษีและอากร 1,182.35 บาท รหัสในการประกันภัยคือ 1.20(A)

- รถจักรยานยนต์ ส่วนบุคคล หรือ ใช้รับจ้าง
ไม่เกิน 75 ซีซี ราคารวมภาษีและอากร 161.57 บาท รหัสในการประกันภัยคือ 1.30(A)

เกิน 75 ซีซี ถึง 125 ซีซี ราคารวมภาษีและอากร 323.14 บาท รหัสในการประกันภัยคือ 1.30(B)

เกิน 125 ซีซี ถึง 150 ซีซี ราคารวมภาษีและอากร 430.14 บาท รหัสในการประกันภัยคือ 1.30 (C)

เกิน 150 ซีซี ราคารวมภาษีและอากร 645.21 บาท รหัสในการประกันภัยคือ 1.30(D)

ต้องขอขอบคุณคุณตั้มที่นำข้อมูลมาแบ่งปันครับ หากมีข้อมูลอะไรดีๆ ไว้ผมจะนำมาแบ่งให้ทราบกันอีกทีนะครับ

Thursday, May 23, 2013

แค่ลดอาหารบางอย่าง ก็ชะลอความแก่ได้อย่างง่ายๆ




             การลดอาหารบางอย่างอาจคุณชะลอความแก่ลงได้ โดยไม่ต้องพึ่งการศัลยกรรม หรือเครื่องสำอางราคาแพง เรามาดูกันว่ามีอาหารชนิดใดบ้างที่คุณควรลดการบริโภคเพื่อความเยาว์

             1. น้ำตาล - น้ำตาลจะไปจับตัวกับคอลลาเจนในร่างกาย ทำให้ผิวหนังของคุณไม่ยืดหยุ่น  จนเกิดรอยเหี่ยวย่นลึก  ซึ่งจะทำให้คุณดูแก่ขึ้น
             2. ไขมันไม่อิ่มตัว - โดยเฉพาะไขมันไม่อิ่มตัวที่มีทรานส์ไอโซเมอร์สูง  เช่นเนื้อวัว  หรือ   เฟรนฟราย ซึ่งส่งผลให้เส้นเลือดอุดตัย และผิวหนังดูแก่ขึ้น
             3. เกลือ - เกลือจะไปดูดซึมน้ำในร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย  นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคไต  ความดันในเลือดสูง  และชะลอดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระดูก
             4. กาแฟ - กาแฟจะดูดซึมน้ำในร่างกาย  และทำให้ดูเหนื่อยล้า
             5. ลูกอม  น้ำตาลในลูกอม  ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองในร่างกาย  และทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น
             6. สารให้ความหวานเทียม - เช่น  แอสปาแตม  ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวและข้อ  และทำให้อยากน้ำตาลมากขึ้น
             7. แอลกอฮอล์ - แอลกอฮอล์จะดูดซึมน้ำในร่างกาย  ทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น  ชลอการจับตัวกันของคลอลาเจนใต้ผิวหนัง  ทำให้เกิดจุดแดงและอาการบวม
             8. เครื่องดื่มชูกำลัง - เครื่องดื่มชูกำลังทำลายสารเคลือบฟันมากกว่าดื่มน้ำอัดลมถึง 8 เท่า ทำให้ฟันเหลืองและฟันไม่แข็งแรง
             9. คาร์โบไฮเดรต - คาร์โบไฮเดรตจำนวนมากเกินไปจะทำลายคลอลาเจนและเส้นใยใต้ผิวหนัง
             10. อาหารทอด - การบริโภคอาหารทอด  ทำให้การจับตัวกันของคลอลาเจนใต้ผิวหนังช้าลง  ส่งผลให้ผิวหนังเหี่ยวย่น
             11. น้ำอัดลม - การดื่มน้ำอัดลมทำให้ร่างกายขาดน้ำและอ่อนเพลีย

             อาหารบางชนิดมีคุณประโยชน์ แต่หากบริโภคมากเกินไปก็อาจเป็นโทษได้ในภายหลังจะครับ