Hand Foot Mouth Syndrome
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มักจะเป็นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ แต่ก็อาจจะพบในผู้ใหญ่ได้
โรคมือเท้าปากจะเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genus
ซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgPEF4V4qzWXu-X-LgxiQtmc86HDYIHGPzROYUYbk1d-puWfiM3DtXQpqUhejETYK5dmw3Vh55znse80Hlky7r-PaiD1WdfJ2MOT866P3Z930xBMV-9K4zxWW8j046D_pw7DDXH4UE5SGM/s200/hand-foot-mouth.jpg)
สาเหตุ
โรคปากเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Enterovirus genus โดยต้องประกอบด้วยผื่นที่ มือ เท้าและที่ปาก เริ่มต้นเป็นที่ปาก เหงือก เพดาน ลิ้น และลามมาที่มือ เท้า บริเวณที่พันผ้าอ้อมเช่นก้น ผื่นจะเป็นตุ่มน้ำใส มีแผลไม่มาก เกิดได้กับเด็กอายุที่เริ่มเป็นคือ 2 สัปดาห์จนถึง 3 ปี และผื่นจะหายใน 5-7 วัน
อาการ
อาการมักจะเริ่มด้วยการมีไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัว เจ็บคอ หลังจากมีไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรก และแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก 1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขนและก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะเกิดอาการขาดน้ำ
- มีไข้
- เจ็บคอ
- มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือก ลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล
- ปวดศีรษะ
- ผื่นเป็นมากที่มือ รองลงมาพบที่เท้า บางรายอาจพบได้ที่ช่วงก้น
- เบื่ออาหาร
- เด็กจะหงุดหงิด
ระยะฝักตัว
หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
การติดต่อ
โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจากการสัมผัสเสมหะ น้ำลายของผู้ที่ป่วย หรือน้ำจากผื่นที่มือหรือเท้า และอุจจาระ ระยะที่แพร่เชื้อประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว
การวินิจฉัย
โดยการตรวจร่างกายพบผื่นบริเวณดังกล่าว
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะทาง โดยส่วนมากมักจะรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น
- ถ้ามีไข้ให้ยา Paracetamol (พาราเซตามอล) ลดไข้ห้ามให้ Aspirin (แอสไพริน)
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ โดยใช้เกลือ 1/2 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำ 1 แก้ว และต้องมั่นใจว่าเด็กบ้วนคอได้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- งดอาหารเผ็ด หรืออาหารเป็นกรด
- โรคนี้จะหายเองได้ใน 5-7 วัน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อนได้จาก
- ภาวะขาดน้ำ ต้องกระตุ้นเด็กให้รับน้ำให้เพียงพอ หากขาดน้ำรุนแรงจะต้องได้รับน้ำเกลือในปริมาณที่พอเหมาะ
- มีการติดเชื้อซ้ำบริเวณที่เป็นแผล
- อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้
- อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- สมองอักเสบได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ อาเจียน ซึม และชัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหาย
การป้องกัน
โรคมือเท้าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อ่อนๆหรือสบู่เหลวและล้างออกด้วยน้ำทุกครั้งเมื่อสัมผัสกับเด็กที่ป่วย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย สวมถุงมือเมื่อจะทำแผลผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนมาก
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับบ่อย เช่นลูกบิดประตู โทรศัพท์
- ไม่แบ่งของเล่นกับเด็กปกติ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhcTSZUiQyFgqIDkw2zjPca0uqYnqST88tmclqxEFuw2UgYsh1ZWXG5xN_01Fi2D4h15hvY0O2PgVG1z3ZbxDjbCSszqwCG51zFS3VC_wbtdRy8uU-7FZtqKX-ZGEd-K092ID53s9ZUszU/s1600/solerash.jpg)
ควรพบแพทย์เมื่อไร
- ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลง
- ดื่มน้ำไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข้ม
- เด็กมีอาการกระสับกระส่าย
- มีอาการชัก
- แผลไม่หาย
ที่มา: http://www.siamhealth.net
No comments:
Post a Comment